กิจกรรมที่ ๑๑
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม ๗ อย่าง คือ
๑) การวิเคราะห์หลักสูตร ๒) การวิเคราะห์ผู้เรียน ๓) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ๔) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน ๕) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ ๖) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ๗) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีดังนี้
๑. เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
๒. มีการเรียนรู้ หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
๓. เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
๔. เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
๕. เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
๖. 6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
หน่วยที่ ๑ ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว เวลาเรียน ๑๑ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านในใจ เวลาเรียน ๑ ชั่วโมง
สอนวันที่……เดือน……….พ.ศ. ……… ภาคเรียนที่ ๑
มาตรฐานการเรียนรู้ สัมพันธ์กับมาตรฐานสาระ ท ๑.๑ , ๒.๑ , ๓.๑ , ๕.๑
สาระสำคัญ
การอ่านในใจที่ดีและมีจุดหมาย แล้วสามารถตั้งคำถาม ตอบคำถาม ลำดับเหตุการณ์
และอภิปรายแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลจะทำให้เข้าใจเรื่องได้ดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. หาความหมายของคำใหม่ที่เป็นคำยากจากพจนานุกรมได้
๒. ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
๓. อภิปรายแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้
๔. ลำดับเหตุการณ์ของเรื่องและสรุปใจความสำคัญได้
สาระการเรียนรู้
การอ่านในใจ เรื่อง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
กิจกรรมการเรียนรู้
๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนรู้
๒. นักเรียนดูภาพในบทเรียน แล้วสนทนาเกี่ยวกับความหมายของภาพ
๓. นักเรียนอ่านบทเรียน เรื่อง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว เพื่อสำรวจหา
คำศัพท์ใหม่ที่เป็นคำยาก
๔. แบ่งนักเรียนออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน เพื่อค้นหาความหมายของคำ
จากพจนานุกรม ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ ๑ คำว่า แม่ชี สรณะ เป็นนิตย์
กลุ่มที่ ๒ คำว่า นักเลงสุรา รำคาญใจ เมล็ดสลอด
กลุ่มที่ ๓ คำว่า เวลาเพล ชั้ว ผิดสำแดง
กลุ่มที่ ๔ คำว่า ทั้งลงทั้งราก หมดสติ
๕. นักเรียนอ่านในใจ เรื่อง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว โดยอ่านอย่างรอบคอบ ในเวลาที่ครูกำหนดให้ ๑๐ นาที อ่านเพื่อสำรวจเนื้อเรื่อง ฝึกการอ่านเร็ว อ่านข้าม และกวาดสายตา เพื่อจับประเด็นของเรื่อง
๖. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถาม และให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาเขียนบนกระดาน
- ตัวละครสำคัญของเรื่องนั้นมีใครบ้าง
- เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
- เหตุการณ์สำคัญของเรื่องคืออะไร
- ผลของเหตุการณ์เป็นอย่างไร
๗. นักเรียนอ่านในใจบทเรียน เรื่อง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัวอีกครั้ง เพื่ออ่านอย่างพินิจพิจารณา ในเวลาที่กำหนดให้ ๑๐ นาที
๗.๑. นักเรียนตอบคำถามปากเปล่าจากคำถามท้ายแผน โดยครูเป็นผู้ถาม
๗.๒. นักเรียนตั้งคำถาม และเฉลยคำตอบเนื้อเรื่อง คนละ ๑๐ ข้อ ส่งครูตรวจ
๘. แต่ละกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็น ตามหัวข้อต่อไปนี้ กลุ่มละ ๑ หัวข้อ โดยการจับสลากเลือกหัวข้อ
๘.๑. ตัวละครใดที่ขัดแย้งกันบ้าง เพราะสาเหตุใด และตัวละครได้กระทำ
สิ่งใดที่แสดงถึงความขัดแย้ง
๘.๒. ชายนักเลงสุรามีความรู้สึกอย่างไรต่อยายชีทุกขโต ทำไมจึงมีความรู้สึกเช่นนั้น
๘.๓. ทำไมลูกชายของชายนักเลงสุราจึงปวดท้อง และท้องร่วง
๘.๔. ทำไมชายนักเลงสุราจึงเข้าใจคำว่า “ ทุกขโต ทุกขถานัง ”
๙. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารายงานผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน ครูสังเกตพฤติกรรม การอภิปราย พร้อมกับบันทึกลงในแบบสังเกต
๑๐. ครูและนักเรียนช่วยกันแก้ไขเพิ่มเติม ส่งครูตรวจและรวบรวมเป็นเล่มไว้ฝึกอ่าน ที่มุมห้องเรียน
๑๑. ครูและนักเรียนช่วยกันลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน โดยเล่าอย่างย่อ ๆ
๑๒. นักเรียนทำแบบฝึกหัด ภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา ที่ ๑ ข้อ ๑ – ๒
๑๓. นักเรียนทำแบบฝึกหลังการเรียนรู้
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
๑. แบบทดสอบก่อนการเรียนรู้ หน่วยที่ ๑
๒. บัตรคำ
๓. พจนานุกรม
๔. สลาก ๔ ใบ
๕. แบบฝึกหัดภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑
๖. แบบเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑
๗. แบบฝึกหลังการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล
๑.วิธีการ
๑.๑ สังเกต
๑.๑.๑ การฟัง การพูด
๑.๑.๒ การอ่าน
๑.๑.๓ การตอบคำถาม
๑.๑.๔ การรายงาน
๑.๒ ตรวจผลงาน
๑.๒.๑ แบบฝึกหัด
๑.๒.๒ แบบฝึกหลังการเรียนรู้
๑.๒.๓ แบบทดสอบก่อนการเรียนรู้
๒. เครื่องมือการวัดและประเมินผล
๒.๑ แบบฝึกหัด
๒.๒ แบบทดสอบก่อนการเรียนรู้
๒.๓ แบบฝึกหลังการเรียนรู้
๒.๔ แบบสังเกตพฤติกรรม
๓. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
ใช้การผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น