วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๓
   ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
      ๑. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
      ๒. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
      ๓. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
      ๔. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

                                                     นางปวีณา หงสกุล
                                                                     
                                                                         

                                     รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

       ปวีณา หงสกุล (๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒) เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวน ๖คน ของ น.อ. (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุล และนางเกยูร หงสกุล (เสียชีวิตแล้ว) เป็นนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทโดดเด่น ในการดูแลด้านสิทธิสตรี มาอย่างยาวนาน นางปวีณามีบุตรคือ นายษุภมน หุตะสิงห์ ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นได้เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุล ที่เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต ๒ และ เอกภาพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย
      นางปวีณามีชื่อเล่นว่า "ปิ๊ก" เป็นน้องสาวของ อาภัสรา หงสกุล ผู้เป็น นางงามจักรวาล ชาวไทยคนแรก

การศึกษา
       
  • มัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีวรนาถ บางเขน
  • สำเร็จไฮสกูลจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย
  • คหกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  • ศึกษาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง สถาบันพระปกเกล้า รัฐสภารุ่นที่ ๑
  • ปริญญาตรี จาก BLISS COLLEGE สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาโท ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
       เริ่มต้นการทำงานที่ ลุค อีสต์ แม็กกาซีน เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๑๐ปี จนได้เป็นผู้จัดการธนาคาร สาขาลาดพร้าว แล้วลาออกมาเป็น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการโรงแรมโซฟิเทล หัวหิน ก่อนจะเข้าสู่วงการเมืองในสังกัด พรรคประชากรไทย ของนายสมัคร สุนทรเวช และต่อมาย้ายไปอยู่พรรคชาติพัฒนา

 ทางดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต ๑๓ พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๑
  • ลงสมัคร ส.ส. กทม. เขต ๑๒ พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕ แต่ไม่ได้รับเลือก
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต ๑๒ พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน๒๕๓๕
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต๑๒พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๘
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสมัคร สุนทรเวช๑ สิงหาคม ๒๕๓๘
  • โฆษกพรรคประชากรไทย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง    ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต๑๒ พรรคชาติพัฒนา เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ (ลาออกเมื่อ  ๖   มิ.ย.๒๕๔๓)
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ (พ้นตำแหน่ง   ก.ค.๒๕๔๒)
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๒ (ลาออกเมื่อ ๖ มิ.ย.๒๕๔๓)
  • รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ๕ เมษายน ๒๕๔๓
  • ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
  •  แต่ไม่ได้รับเลือก
  • เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา๑๕ มีนาคม ๒๕๔๖
  • ส.ส.บัญชีปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติพัฒนา ๖ มกราคม ๒๕๔๔
  • ลาออกจากพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  • ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือก
  • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต ๑๕ พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์๒๕๔๘
  • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต๑๕ พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ (โมฆะ)
เส้นทางการเมือง

          นางปวีณา เคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม 
 พ.ศ.๒๕๔๓ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้เบอร์ ๕ ไม่ได้รับการเลือกตั้งและไม่ได้เป็นตัวเต็งในการเลือกตั้งด้วย กับอีกครั้งคือ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้เบอร์ ๗ อันเป็นเบอร์เก่าของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า ฯ คนก่อน ในการหาเสียงคราวนี้นางปวีณาใช้สีชมพูเป็นสีประจำตัว ซึ่งมีความหมายถึงความอ่อนหวานของผู้หญิง แต่ นางปวีณาต้องพบกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก่อนการลงคะแนน ความนิยมของทั้งคู่คี่สูสีกันมาก จนกระทั่งผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่านายอภิรักษ์มีคะแนนชนะนางปวีณาไปประมาณ  ๓ แสนคะแนน
        หลังจากนี้ นางปวีณาได้เข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย อันเนื่องจากพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นางปวีณาได้ลงเลือกตั้งในเขตสายไหมและได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างมาก เนื่องจากมีฐานเสียงอยู่บริเวณนี้
        ปัจจุบัน นางปวีณา หงสกุล ได้เข้าสังกัดพรรคชาติไทย แต่ยังไม่อาจดำเนินการทางการเมืองได้เพราะเป็นหนึ่งใน ๑๑๑ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี จาก    คดียุบพรรค
         นางปวีณามีภาพลักษณ์ที่ทุกคนรู้จักดี คือ เป็นผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผู้หญิงและเยาวชน โดยมีมูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะมีผลงานปรากฏตามสื่อมวลชนเป็นระยะ ๆ ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนางปวีณาโดดเด่นมาก จนได้รับการขนานนามว่า "แม่พระ"
         ในกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๒ได้ออกมาเปิดเผยกับสังคมว่าป่วยเป็นมะเร็งทรวงอกมานานกว่า ๕ ปี โดยที่ไม่มีใครทราบนอกจากคนในครอบครัว โดยได้ต่อสู้กับโรคนี้มาโดยตลอด จนเกือบหายเป็นปกติในปัจจุบัน

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
  • อนุกรรมการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็กของกรรมาธิการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะอนุกรรมการเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร
  • โฆษกกรรมาธิการเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร
อ้างอิง
แหล่งข้อมูล

กิจกรรมที่ ๒
       
       ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา

  ๑.นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
    ตอบ การบริหารเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นการบริหารได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
การบริหารการศึกษา เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้

      ๒.นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบ ศาสตร์คือ ความรู้ที่ถูกต้อง แนวคิดดี ๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำรา คำพูด หรืออื่นๆตามความสามารถผู้ที่จะรับหรือศึกษาศาสตร์นั้นๆ บางคนอาจจะศึกษาทั้งชีวิตแต่ไม่บรรลุ เช่น ทางด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น ส่วนศิลป์ คือ การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศิลป์เป็นเรื่องของหัวคิด สมอง ความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น


     ๓.นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆ พอสังเขป
   ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี ๔ ยุค คือยุคที่ ๑ วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. ๑๘๘๐ เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ ๑ 
 ๑.คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง
 ๒.ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย
 ๓.ใช้ระบบเผด็จการ
 ๔.สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า
 ๕.มีระบบศักดินา พื้นฐานความคิดของการบริหารในยุคนี้ยังไม่เกิด บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว ก็จะมีอำนาจควบคุมระบบสังคมและเศรษฐกิจ คนเมื่อเกิดที่แห่งใดแล้วก็จะจำกัดเฉพาะที่นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานะของตนได้ ในยุคนี้ ช่างฝีมือทำงานอย่างเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกัน กลุ่มนั้นคือการเกิดสหบาลกรรมกร
   เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตเปลี่ยนจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ องค์การธุรกิจรูปแบบบริษัทก็เกิดขึ้น สรุปวิวัฒนาการของการบริหารในยุคก่อน Classical 
 ๑.เริ่มจากคนรู้จักรวมกลุ่มกันทำงานประมาณ ค.ศ.๑๘๘๐
 ๒.บุคคลทำหน้าที่บริหารจัดการขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มนั้น
 ๓. ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ เป็นยุคเผด็จการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่
   ยุคที่ ๒ วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical เป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี  ค.ศ.๑๘๘๐ – ๑๙๓๐ สาระสำคัญของยุคที่ ๒
 ๑. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม
 ๒.มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ
 ๓.มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว
 ๔. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ
 ๕.เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คือพยายามศึกษาวิธีการผลิต พยายามบอกวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานที่สุด
  ๔.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ  ทฤษฎี x ทฤษฎี Y
    ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
   ขั้นที่ ๑ ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
   ขั้นที่๒ ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
   ขั้นที่ ๓ ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
   ขั้นที่ ๔ ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง   
  
   ขั้นที่ ๕ ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
    มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ ๑ ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ ๑-๕ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง ๑๐๐% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป
    ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
    แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการศึกษาและรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้
  ๑. ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Trait Theories)
  ๒. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
  ๓. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational or Contingency Leadership
Theories)
  ๔.ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership Theories)
  ทฤษฎี X พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน พื้นฐานคนขี้เกียจ อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
  ทฤษฎี Y เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน มีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรร และมีศักยภาพในตนเอง คนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๑

กิจกรรมที่ ๑
         ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  การบริหารการศึกษา  จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา
ความหมาย
           “การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
            “การบริหารการศึกษา   หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของ  สังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับ     ความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร         ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่  (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)