วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๒
       
       ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา

  ๑.นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
    ตอบ การบริหารเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นการบริหารได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
การบริหารการศึกษา เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้

      ๒.นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบ ศาสตร์คือ ความรู้ที่ถูกต้อง แนวคิดดี ๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำรา คำพูด หรืออื่นๆตามความสามารถผู้ที่จะรับหรือศึกษาศาสตร์นั้นๆ บางคนอาจจะศึกษาทั้งชีวิตแต่ไม่บรรลุ เช่น ทางด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น ส่วนศิลป์ คือ การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศิลป์เป็นเรื่องของหัวคิด สมอง ความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น


     ๓.นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆ พอสังเขป
   ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี ๔ ยุค คือยุคที่ ๑ วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. ๑๘๘๐ เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ ๑ 
 ๑.คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง
 ๒.ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย
 ๓.ใช้ระบบเผด็จการ
 ๔.สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า
 ๕.มีระบบศักดินา พื้นฐานความคิดของการบริหารในยุคนี้ยังไม่เกิด บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว ก็จะมีอำนาจควบคุมระบบสังคมและเศรษฐกิจ คนเมื่อเกิดที่แห่งใดแล้วก็จะจำกัดเฉพาะที่นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานะของตนได้ ในยุคนี้ ช่างฝีมือทำงานอย่างเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกัน กลุ่มนั้นคือการเกิดสหบาลกรรมกร
   เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตเปลี่ยนจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ องค์การธุรกิจรูปแบบบริษัทก็เกิดขึ้น สรุปวิวัฒนาการของการบริหารในยุคก่อน Classical 
 ๑.เริ่มจากคนรู้จักรวมกลุ่มกันทำงานประมาณ ค.ศ.๑๘๘๐
 ๒.บุคคลทำหน้าที่บริหารจัดการขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มนั้น
 ๓. ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ เป็นยุคเผด็จการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่
   ยุคที่ ๒ วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical เป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี  ค.ศ.๑๘๘๐ – ๑๙๓๐ สาระสำคัญของยุคที่ ๒
 ๑. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม
 ๒.มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ
 ๓.มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว
 ๔. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ
 ๕.เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คือพยายามศึกษาวิธีการผลิต พยายามบอกวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานที่สุด
  ๔.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ  ทฤษฎี x ทฤษฎี Y
    ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
   ขั้นที่ ๑ ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
   ขั้นที่๒ ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
   ขั้นที่ ๓ ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
   ขั้นที่ ๔ ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง   
  
   ขั้นที่ ๕ ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
    มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ ๑ ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ ๑-๕ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง ๑๐๐% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป
    ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
    แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการศึกษาและรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้
  ๑. ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Trait Theories)
  ๒. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
  ๓. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational or Contingency Leadership
Theories)
  ๔.ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership Theories)
  ทฤษฎี X พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน พื้นฐานคนขี้เกียจ อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
  ทฤษฎี Y เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน มีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรร และมีศักยภาพในตนเอง คนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น