วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ๓
   ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
      ๑. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
      ๒. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
      ๓. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
      ๔. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

                                                     นางปวีณา หงสกุล
                                                                     
                                                                         

                                     รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

       ปวีณา หงสกุล (๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒) เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวน ๖คน ของ น.อ. (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุล และนางเกยูร หงสกุล (เสียชีวิตแล้ว) เป็นนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทโดดเด่น ในการดูแลด้านสิทธิสตรี มาอย่างยาวนาน นางปวีณามีบุตรคือ นายษุภมน หุตะสิงห์ ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นได้เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุล ที่เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต ๒ และ เอกภาพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย
      นางปวีณามีชื่อเล่นว่า "ปิ๊ก" เป็นน้องสาวของ อาภัสรา หงสกุล ผู้เป็น นางงามจักรวาล ชาวไทยคนแรก

การศึกษา
       
  • มัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีวรนาถ บางเขน
  • สำเร็จไฮสกูลจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย
  • คหกรรมศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  • ศึกษาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง สถาบันพระปกเกล้า รัฐสภารุ่นที่ ๑
  • ปริญญาตรี จาก BLISS COLLEGE สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาโท ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
       เริ่มต้นการทำงานที่ ลุค อีสต์ แม็กกาซีน เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๑๐ปี จนได้เป็นผู้จัดการธนาคาร สาขาลาดพร้าว แล้วลาออกมาเป็น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการโรงแรมโซฟิเทล หัวหิน ก่อนจะเข้าสู่วงการเมืองในสังกัด พรรคประชากรไทย ของนายสมัคร สุนทรเวช และต่อมาย้ายไปอยู่พรรคชาติพัฒนา

 ทางดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต ๑๓ พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๑
  • ลงสมัคร ส.ส. กทม. เขต ๑๒ พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๕ แต่ไม่ได้รับเลือก
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต ๑๒ พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน๒๕๓๕
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต๑๒พรรคประชากรไทย เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๘
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสมัคร สุนทรเวช๑ สิงหาคม ๒๕๓๘
  • โฆษกพรรคประชากรไทย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง    ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙
  • ส.ส. กรุงเทพฯ เขต๑๒ พรรคชาติพัฒนา เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ (ลาออกเมื่อ  ๖   มิ.ย.๒๕๔๓)
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ (พ้นตำแหน่ง   ก.ค.๒๕๔๒)
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๒ (ลาออกเมื่อ ๖ มิ.ย.๒๕๔๓)
  • รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ๕ เมษายน ๒๕๔๓
  • ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
  •  แต่ไม่ได้รับเลือก
  • เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา๑๕ มีนาคม ๒๕๔๖
  • ส.ส.บัญชีปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติพัฒนา ๖ มกราคม ๒๕๔๔
  • ลาออกจากพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  • ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือก
  • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต ๑๕ พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์๒๕๔๘
  • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต๑๕ พรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ (โมฆะ)
เส้นทางการเมือง

          นางปวีณา เคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม 
 พ.ศ.๒๕๔๓ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้เบอร์ ๕ ไม่ได้รับการเลือกตั้งและไม่ได้เป็นตัวเต็งในการเลือกตั้งด้วย กับอีกครั้งคือ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้เบอร์ ๗ อันเป็นเบอร์เก่าของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า ฯ คนก่อน ในการหาเสียงคราวนี้นางปวีณาใช้สีชมพูเป็นสีประจำตัว ซึ่งมีความหมายถึงความอ่อนหวานของผู้หญิง แต่ นางปวีณาต้องพบกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก่อนการลงคะแนน ความนิยมของทั้งคู่คี่สูสีกันมาก จนกระทั่งผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่านายอภิรักษ์มีคะแนนชนะนางปวีณาไปประมาณ  ๓ แสนคะแนน
        หลังจากนี้ นางปวีณาได้เข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย อันเนื่องจากพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นางปวีณาได้ลงเลือกตั้งในเขตสายไหมและได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างมาก เนื่องจากมีฐานเสียงอยู่บริเวณนี้
        ปัจจุบัน นางปวีณา หงสกุล ได้เข้าสังกัดพรรคชาติไทย แต่ยังไม่อาจดำเนินการทางการเมืองได้เพราะเป็นหนึ่งใน ๑๑๑ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี จาก    คดียุบพรรค
         นางปวีณามีภาพลักษณ์ที่ทุกคนรู้จักดี คือ เป็นผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผู้หญิงและเยาวชน โดยมีมูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะมีผลงานปรากฏตามสื่อมวลชนเป็นระยะ ๆ ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนางปวีณาโดดเด่นมาก จนได้รับการขนานนามว่า "แม่พระ"
         ในกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๒ได้ออกมาเปิดเผยกับสังคมว่าป่วยเป็นมะเร็งทรวงอกมานานกว่า ๕ ปี โดยที่ไม่มีใครทราบนอกจากคนในครอบครัว โดยได้ต่อสู้กับโรคนี้มาโดยตลอด จนเกือบหายเป็นปกติในปัจจุบัน

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
  • อนุกรรมการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็กของกรรมาธิการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะอนุกรรมการเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร
  • โฆษกกรรมาธิการเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร
อ้างอิง
แหล่งข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น