วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบครั้งที่  ๑


คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้

๑.      Classroom managemant  นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ  Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  หมายถึง  การจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้          เรียน   อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  Classroom management  มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา  คือเพราะการศึกษาที่เน้นการพัฒนาเยาวชน  การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของเยาวชนแต่ละคนในแต่ละพื้นที่  ที่มีความต้องการและความสามารถไม่เหมือนกันและแตกต่างกัน  Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาการพัฒนาผู้เรียนและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาที่จะต้องจัดการชั้นเรียนให้เข้ากับผู้เรียน  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการชั้นเรียนให้ทันสมัยต่อโลกโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน
๒.    ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพ มาตรฐานของวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครูดังนี้
มาตรฐานความรู้  คือ ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     -  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
     -  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     -  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
     -  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     -  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     -  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     -  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     -  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     -  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     -  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตรฐานการปฏิบัติตน  คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม

.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดปรโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
          ตอบ  ควรจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ห้องเรียนควรมีบรรยากาศ
เต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส  สะอาด  สว่าง  ปลอดโปรงกว้างขวางเหมาะสมในการเรียน  มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย   มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้  มีการตกแต่งห้องให้สดใส  ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีการเรียนการเรียนการสอนแบบ Student Centered ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

๔. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (๑) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (๒) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(๑)และข้อ(๒) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
        ตอบ  จัดโรงเรียนให้สะอาดร่มรื่น เรียบง่าย มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล มีความปลอดภัย มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นแบบอย่างและสิ่งที่ดีจะได้ซึมซับกับสิ่งเหล่านั้น และอยากที่จะมาโรงเรียนอยากเข้าชั้นเรียนมากขึ้น
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้   เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสันสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่วางของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
๕. ฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
            ตอบ  คุณภาพผู้เรียน   คือการที่ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขจริตที่ดี  เป็นผู้ที่มีความสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องอาศัยการดำเนินการพัฒนาในกระบวนการต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล เช่น การจัดกิจกรรมหรือโครงการในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในด้านต่างๆและการมีจิตสาธารณะ  ดังนี้
            มาตรฐานที่ ๑ มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
.๑ มีความซื่อสัตย์สุจริต
.๒ มีความกตัญญูกตเวที
.๓ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
.๔ ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
.๕ ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๒  ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
.๒ รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
.๒ เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ ๓  ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
                                     ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
.๑ มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
.๒ เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
.๓ ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
.๔ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
.๔ มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ ๔  ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
                                      มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
.๑ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์                        รวม
.๒ สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
.๓ ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
.๔ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
.๑ มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
.๒ มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
.๓ สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
.๔ สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
.๕ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
                                   พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
.๑ มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
.๒ สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
.๓ มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ ๗ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
.๑ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
.๒ มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
.๓ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
.๔ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
.๕ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ ๘ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
.๑ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
.๒ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
.๓ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
๖.  ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  การที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนนั้นควรที่จะสอดแทรกไว้ในกิจกรรมของวิชาต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติได้จริงหรือได้ซึมซับคุณธรรมจริยธรรมเหล่านั้น เช่น การสอดแทรกโดยใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งทางผู้สอนได้คัดเลือกแล้วว่าสื่อการเรียนรู้ดังกล่าวมีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าใจให้นักศึกษาได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรมเหล่านั้นที่ต้องการให้เกิดกับตัวผู้เรียน  เช่น  การมีจิตสาธารณะ การมีจิตใจโอบอ้อมอารี   ความมีเมตตาจิตใจที่ดีให้กับผู้อื่นในสังคมต่อไป
ดังนั้น การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กและเยาวชนนั้น ควรเริ่มต้นที่บ้านเป็นสำคัญเพื่อเป็นการปูพื้นฐานจะเห็นว่าวันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง เรียน ๘ ชั่วโมง นอน ๘ ชั่วโมงนั่งรถเมล์ไปโรงเรียน อีก ๔ ชั่วโมง อยู่บ้าน พ่อแม่เคยพูดคุยเรื่องของลูกถึง ๓๐  นาทีหรือไม่ บางครั้งเด็กอาจจะรู้สึกไม่อิสระ เช่น การให้เข้าเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย  และเริ่มเรียนพิเศษเรื่อยมาเป็นการวัดความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน โดยพวกเขาอาจจะไม่เต็มใจ  แต่ก็ไม่กล้าที่จะพูดและตัดสินใจใด ๆ เพราะได้รับการปลูกฝังให้ฟังฝ่ายเดียว  ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่  ควรจะทบทวนบทบาทของตนเองเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็น และพ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก  หากทำได้เด็กจะประสบความสำเร็จในชีวิตเบื้องต้นไปแล้วครึ่งหนึ่ง โรงเรียนเป็นแหล่งที่สองรองจากบ้านที่มีส่วนในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม  ให้แก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะครูอาจารย์  นับได้ว่าเป็นหัวใจในบรรดาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา เพราะครู อาจารย์เป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนถึงแม้จะมีปรัชญาการศึกษา หลักสูตร กระบวนการเรียน การสอน สื่อการสอนการวัดผลและประเมินผลที่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของผู้เรียนในในปัจจุบันก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ที่จะทำให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม  ภายในตัวโดยไม่ตัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น