สอบครั้งที่ ๒
ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
๑. Classroom Managemet หมายถึง การบริหารจัดการในชั้นเรียนการที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี
๒. Happiness Classroom หมายถึงการจัดห้องเรียนให้มีความสุข
๓. Life-long Education หมายถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเองและปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก๔. formal Education หมายถึง การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับ ต่าง ๆ
๕. non-formal education หมายถึง การศึกษานอกระบบ “การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก” โดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
๖. E-learning หมายถึง การเรียน การสอนในลักษณะรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
๗. Graded หมายถึง การเรียนระดับชั้น
๘. Policy education หมายถึง นโยบายการศึกษา
๙. Vision หมายถึง วิสัยทัศน์ คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
๑๐. Mission หมายถึง พันธ์กิจ คือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
๑๑. Goals หมายถึง เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
๑๒. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
๑๓. backward design หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
๑๔. Effectiveness หมายถึง ประสิทธิผล คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
๑๕. Efficiency หมายถึง ประสิทธิภาพ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
๑๗. Equity หมายถึง ความเสมอภาพ
๑๘. Empowerment หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
๑๙. Engagement หมายถึง การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
๒๐. Project หมายถึง แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย
๒๑. Activies หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวาเพื่อต้องการการทำงานของเรานั้นมีความกระตือรือร้น
๒๒. Leadership หมายถึง ความสามารถในการเป็นผู้นำ
๒๔. Follows หมายถึง ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
๒๕. Situations หมายถึง สถานการณ์
๒๖. Self awareness หมายถึง การตระหนักรู้ในตนเอง คือการรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้
๒๗. Communication หมายถึง การสื่อสารคือกระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
๒๘. Assertiveness หมายถึง การยืนยันในความคิดตน
๒๙. Time management หมายถึง การบริหารเวลา
๓๐. POSDCoRB หมายถึง หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ ๗ ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบรรจุ การสั่งการ การประสานงาน การรายงานและงบประมาณ
๓๑.Formal Leaders หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานต่าง ๆ
๓๒.Informal LLeaders หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เช่นผู้นำของชลเผ่า เป็นต้น
๓๓.Environment หมายถึง สภาพแวดล้อม
๓๔.Globalization หมายถึง โลกาภิวัตน์ การแพร่หลายไปทั่วโลก
๓๕. Competency หมายถึง ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้ ทักษะ และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
๓๖. Organization Cultural หมายถึง วัฒนธรรมองค์กร คือ ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน “บุคลิกภาพ”(Personality)หรือ “จิตวิญญาณ”(Spirit) ขององค์การ
๓๗. Individual Behavior หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมองค์การ พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจหรือเป็นสาขาวิชาที่มีทฤษฎีวิธีการและหลักการซึ่งได้มาจากศาสตร์หลายแขนงวิชาด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของบุคคล ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นภาพรวมระดับองค์การ มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอกต่อองค์การโดยเฉพาะส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ
๓๘. Group Behavior หมายถึง พฤติกรรมกลุ่ม คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล ๒ บุคคล เช่น หน่วยงานมีนโยบานที่จะเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็อาจจะประกาศหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นใหม่ ผลของพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมีผลต่อผลผลิต ความพึงพอใจ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กร
๓๘. Group Behavior หมายถึง พฤติกรรมกลุ่ม คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล ๒ บุคคล เช่น หน่วยงานมีนโยบานที่จะเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็อาจจะประกาศหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นใหม่ ผลของพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมีผลต่อผลผลิต ความพึงพอใจ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กร
๓๙. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
๔๐. Team working หมายถึง การทำงานเป็นทีม “บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกัน และมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกันและใช้ความทักษะความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน”
๔๑. Six Thinking Hats หมายถึง เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุดหรือการคิดแบบหมวก ๖ ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
๑.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น
๒.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น
๓.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
๔.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี
๕.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม
๖.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking) หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด
๔๒. Classroom Action Research หมายถึง การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธีการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น